ข้อมูลสถานศึกษา

| ประวัติวิทยาลัยฯ

วิทยาลัยเทคนิศพระนครศรีอยุธยา แต่เดิมตั้งอยู่ที่บริเวณเพนียดคล้องช้าง ตำบลสวมพริก แต่ชาวบ้านทั่วไปมักนิยมเรียกว่า ตำบลเพนียด อำเภอกรุงเก่าหรืออำเภอพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ตัวอาคารเรียนใช้ตัวตำหนักของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ซึ่งเป็พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปีพุทธศักราช ๒๕๘๑ ได้เปิดสอนเป็นโรงเรียนหัตถกรรมโดยใช้ตำหนักเป็นอาคารเรียนมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกทรงมนิลา จำนวน ๑ หลัง และสร้างโรงฝึกงานเป็นโรงงานมีหลังคามุงด้วยจาก จำนวน ๓ หลัง สร้างล้อมรอบตัวตำหนักไว้ เปิดรับนักเรียนที่จะชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ (ป.๔) มาเข้าเรียนในชั้น ม.๑ และ ม.๒ และ ม.๓ โดยเปิดสอนใน ๓ แผนก ประกอบด้วย แผนกช่างไม้ แผนกช่างปั้น และแผนกช่างต่อเรือ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาปราบปรปักษ์ พระราชโอรสของรัชกาลที่ 2 กับเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี (https://www.silpa-mag.com/history/article_118794)

ในปลายปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ ส่วนราชการได้โอนย้ายโรงเรียนหัตถกรรมมาสังกัดกรมอาชีวศึกษา และได้แยกแผนกช่างไม้ ช่างปั้นมาเรียนที่ตำบลท่าวาสุกรี (สถานที่ตั้งในปัจจุบัน) ใช้ชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนช่างไม้ – ช่างปั้น (หัตถกรรม)” โดยมีหลวงสินธุ สงครามชัย (รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียน และได้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑, ม.๒ และ ม.๓) หลักสูตร ๓ ปี และในปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ แผนกช่างต่อเรือ ได้ทำการย้ายจากเพนียดคล้องช้างไปเรียนที่ตำหนักสะพานเกลือบนเกาะลอยใน ตำบลหัวรอซึ่งเป็นสถานที่ตั้ง วิทยาลัยเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ต่อมาปีในพุทธศักราช ๒๔๙๕ จากโรงเรียนช่างไม้ – ช่างปั้น (หัตถกรรม) ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “โรงเรียนการช่างพระนครศรีอยุธยา (การช่างชาย)” และได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของซุมชน โดยเปิดทำการสอน ๒ แผนกช่าง คือ แผนกช่างยนต์ และแผนกช่างก่อสร้าง เนื่องจากงานไม้ – ช่างปั้น ไม่อยู่ในความนิยมของประชาชนทั่วไป โดยเปิดรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) หลักสูตร ๓ ปี สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.๓, ม.ศ.๕ และ ม.ศ.๖) ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ ได้เปิดรับนักเรียนที่เรียนจบจากระดับชั้น ม.ศ.๔, ม.ศ.๕ และ ปวช. โดยรวมโรงเรียนทั้ง ๓ แห่งเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยาโดยโรงเรียนการช่างพระนครศรีอยุธยา (การช่างชาย) ใช้ชื่อว่าวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา (วิทยาเขต ๑) และโรงเรียนการช่างสตรีใช้ชื่อว่าวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา (วิทยาเขต ๒) โรงเรียนการช่างต่อเรือใช้ชื่อว่าวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา (วิทยาเขต ๓) และในปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนศรศรีอยุธยา (วิทยาเขต ๑) ได้เลื่อนฐานะเป็นวิทยาลัยเทคนิค ใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา”


| ปรัชญาวิทยาลัยฯ

“ พัฒนาทักษะ ความรู้ เชิดชูคุณธรรม น้อมนํา หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง “

| เอกลักษณ์

“ อาชีวจิตอาสา บริการวิชาชีพ “

| อัตลักษณ์

“ มีคุณธรรม ชํานาญงานช่าง สร้างสรรค์เทคโนโลยี ”

| พันธกิจ

“วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา“ กําหนดพันธกิจเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ ดังนี้
พันธกิจที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากําลังคนอย่างมีคุณภาพ ทั้งด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคมด้วยระบบความปลอดภัยอาชีวศึกษา
พันธกิจที่ 2 พัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนที่หลากหลายและส่งเสริมการบริการวิชาการ วิชาชีพ การฝึกอบรม การทดสอบสมรรถภาพของผู้เรียน อย่างมีคุณภาพ
พันธกิจที่ 3 เสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครื่อข่ายระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครองสถานประกอบการ ชุมชน และองค์กรในภาคส่วน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
พันธกิจที่ 4 ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูและบุคคลากร ให้สร้างสรรค์งานวิจัย สิ่งประดิษฐิ์ นวัตกรรม เทคโนโลยี การสร้างองค์ความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น
พันธกิจที่ 5 พัฒนาระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล น้อมนําตามแนวทางหลักปรัชผยาของเศรษฐกิจพอเพียง


| ตราสัญลักษณ์
ตราสัญลักษณ์วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา

เป็นรูปเสมาธรรมจักร ประกอบด้วย ทุ ส นิ ม (ย่อมาจาก ทุ = ทุกข์ | ส = สมุทัย | นิ = นิโรธ | ม = มรรค) อยู่ภายในวงกลม
วงในล้อมรอบด้วยวงกลมวงนอก ระหว่างวงกลมทั้งสอง
ด้านบนมีคําว่า “วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา” ด้านล่างมีคําว่า “AYUTTHAYA TECHNICAL COLLEGE”

| ธงประจำวิทยาลัยฯ

พื้นธงสีน้ำเงินมีลายเส้นสีขาวรูปพระพักตร์ “พระวิษณุกรรม“ บรมครูแห่งช่างศิลปหัตถกรรมอยู่ตรงกลาง

ธงประจำวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา
| สีประจำวิทยาลัยฯ

สีน้ำเงินและสีขาว

สีประจำวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา
| ต้นไม้ประจำวิทยาลัยฯ

“ชมพูพันธุ์ทิพย์“ เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ผลัดใบ ความสูงประมาณ 8-25 เมตร แตกกิ่งแผ่กว้างเป็นชั้น
เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลม ลำต้นขนาดใหญ่ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามกิ่ง ช่อละ 5-8 ดอก
กลีบดอกมีทั้งสีชมพูอ่อน ชมพูสด และสีขาว

ต้นไม้ประจำวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา (https://home.kapook.com/view204532.html)

| ที่ตั้งสถานศึกษา

| เลขที่ 29 ถนนนเรศวร ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000

| โทรศัพท์ : 0-3593-0651-4
| อีเมล : sarabun@ayuttech.ac.th

| สังกัด สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ


วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด